หลาย ๆ ท่านอาจจะสับสนเล็กน้อยกับหน้าตาของ ThinkPad EDGE 11 ซึ่งคล้ายกับ X100e เพราะว่ารูปร่างหน้าตาจะคล้าย ๆ กัน แต่ X100e จะเป็นของแพลตฟอร์ม AMD เป็นหลัก และมีสีแดงกับสีขาว ส่วน ThinkPad EDGE 11 จะเหมือน ThinkPad EDGE ทุกประการทั้งรูปทรงและโทนสี รวมถึงแพลตฟอร์มจาก AMD และ Intel พร้อมการปรับโครงสร้างอีกเล็กน้อย โดย ThinkPad EDGE 11 ถูกวางในกลุ่มลูกค้า SMB หรือองค์กรขนาดเล็กที่เน้นฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก โดยหน้าตายังมีความสวยงามปรับเปลี่ยนได้กว่าใน ThinkPad ปรกติ ในเครื่องทดสอบนี้มาพร้อมซีพียูประหยัดพลังงานจาก Intel ในรุ่น Pentium U5400 (ส่วนในรุ่นขายจริงจะเป็น i3-380UM) ที่มาพร้อมความเร็ว 1.2 GHz การ์ดจอออนบอร์ด Intel รองรับการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ แรมความจุ 2GB DDR3 และฮาร์ดดิสก์นาด 250 GB สเปกมาตรฐานเน้นเล็ก เบา และประหยัดพลังงานเป็นหลัก แต่ที่โดดเด่นก็คือฟังก์ชันใช้งานในความเป็น ThinkPad ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นเดี๋ยวไปติดตามกันครับ
ขนาดของ Adapter จัดได้ว่าเล็กเลยทีเดียว พกพาได้สะดวก
ส่วนแรกจะเป็นภาพภายนอกสีขาวสะดุดตา
ThinkPad EDGE 11 มากับหน้าตาที่ดูสวยงามด้วยผิวมันเงาแบบสะท้อนแสง และการออกแบบที่ดูเรียบง่ายตามสไตล์ ThinkPad พร้อมวัสดุที่ผสมผสานระหว่างผิวมันและผิวด้านได้อย่างลงตัวเรียกได้ว่าเล็ก และเบา สามารถพกพาได้อย่างสะดวกสบาย
ผิวด้านหลังจอภาพจะเป็นแบบมันเงา ซึ่งช่วยให้ดูหรูหราสวยงามตามสไตล์โน้ตบุ๊กทั่ว ๆ ไปบริเวณที่พักมือและขอบจอภาพจะเป็นผิวด้านซึ่งทนทานเป็นเอกลักษณ์ในสไตล์ ThinkPad
บานพับมีความเข็งแรงพอตัวไม่สั่นไหวง่าย
ขอบของจอภาพโดยรอบปิดได้สนิทเรียบเนียน ช่วยรับแรงกดอัดได้เป็นอย่างดี
จอภาพขนาด 11.6 นิ้ว เล็ก เบา และพกพาสะดวก มาพร้อมความละเอียดระดับ 720p มาตรฐานของจอภาพในสมัยนี้แล้ว
ความหนาของจอภาพจัดอยู่ในระดับปรกติด้วยขอบของจอภาพ
จอบานพับกางได้สูงสุดเกือบ 180 องศาเลยทีเดียว
หนากว่ากล่อง CD 8 แผ่นอยู่เล็กน้อยเท่านั้น
น้ำหนักเครื่องรวมแบตเตอรี่ประมาณ 1.2 กิโลกรัม เบาเลยทีเดียว
แม้รวม Adapter แล้วก็ยังอยู่แค่ 1.8 กิโลกรัมเท่านั้น
เป็นด้านใต้ท้องเครื่องรวมไปถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่อง
ใต้เครื่องจะมีฝาปิดหลักชิ้นเดียว แค่เปิดฝานี้ก็สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ได้แทบทั้งหมดแล้ว
ช่องระบายความร้อนจะอยู่กระจายตามตำแหน่งต่าง ๆ พร้อมตะแกรงกันฝุ่นเสร็จสรรพ
ช่องระบายความร้อนของ CPU พัดลมเสียงไม่ดังมากนัก แต่ก็สามารถระบายความร้อนได้ดี
ThinkPad Edge 11 มาพร้อมคีย์บอร์ดแบบปุ่มยกตัว ด้วยความห่างของปุ่มและเป็นปุ่มแบบยกตัวจึงช่วยให้สามารถใช้งานได้สะดวก ลดการพิมพ์ผิดปุ่มลงไปได นอกจากนั้นยังมีการออกแบบที่โค้งเว้าสอดรับกับนิ้วมือ ซึ่งเป็นจุดเด่นของ ThinkPad Edge ปุ่มค่อนข้างนิ่มรับแรงกดได้ดี
ปุ่ม Fn ครบครันและครอบคลุมทุกการใช้งานของเครื่อง ปุ่มพิเศษต่าง ๆ ที่เป็นปุ่มแยกก็ถูกใส่มาในส่วนของปุ่ม Fn รวมถึงมัลติมีเดียปรับความสว่างจอภาพด้วย พร้อมจุดเด่น คือ จะสลับการใช้งานปุ่ม Fn ได้เลยโดยไม่ต้องกด Fn ค้าง แต่จะสลับพวก F1-F10 เป็นปุ่มที่ต้องกด Fn แทน เพราะไม่ค่อยได้ใช้อยู่แล้ว
ปุ่มเปิดเครื่องจะอยู่ติดกับบานพับด้านขวา มีขนาดไม่ใหญ่เท่าไร
Touchpad ของ ThinkPad Edge 11 ยังมาด้วยจุดเด่นที่มีทั้งแบบแท่นเรียบ มีขนาดใหญ่สั่งงานได้ดี ปุ่มเมาส์ออกแบบมาเป็นขอบของเครื่อง ทำให้ไม่ต้องยกนิ้วเพื่อกดปุ่มเgต่อย่างใด อีกทั้งยังมี Trackpointในรูปแบบเดิม ๆ ของ ThinkPad พร้อมปุ่มเมาส์แบบ 3 ปุ่มที่เป็นเอกลักษณ์
มีสติกเกอร์ Windows 7 พร้อม Logo Lenovo Enhanced Experience ซึ่งเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของ ThinkPad Edge ก็ว่าได้
ข้อมูลต่าง ๆ ของ ThinkPad Edge 11
Windows 7 Home Premium แท้
Panel ด้านหน้ามีลำโพงอยู่ใต้ขอบเครื่อง
ด้านซ้ายเริ่มจากที่ใส่สายล็อกเครื่อง, ช่องระบายความร้อน, HDMI, USB 1 port, LAN และ พอร์ตหูฟัง
ทางด้านขวาเริ่มด้วย Card Reader, USB ที่เห็นเป็นสีเหลือง เพราะรองรับการชาร์จอุปกรณ์แม้ปิดเครื่องแล้ว และที่มุมก็เป็น USB อีกหนึ่งพอร์ตครับ
ด้านหลังมี Adapter, แบตเตอรี่ และ D-Sub
คุณภาพของ Webcam และระบบเสียง
กล้อง Webcam ของ ThinkPad Edge 11
ลำโพงจะอยู่มุมใต้ Panel ด้านหน้า เรื่องคุณภาพเสียงก็ถือว่าเป็นที่น่าพึงพอใจ คมชัดดีในระดับหนึ่ง ความดังของเสียงก็ถือว่าดังมาก สามารถฟังในห้องกว้างได้
แบตเตอรี่ของ ThinkPad Edge 11 มีรายละเอียด คือ 10.8 V –-5.2Ah 57WH
Lenovo ThinkPad Software
เป็นเหมือนศูนย์กลางโปรแกรมต่าง ๆ ของ ThinkPad
จัดการ/โหมดการใช้พลังงานเครื่อง
จัดการระบบการเชื่อมต่อ Wireless
โปรแกรมใหม่ที่ Lenovo เพิ่มมาใน ThinkPad EDGE กับโปรแกรม Online ซึ่งจุดเด่น คือ จะแจ้งสถานะการรับประกันแสดงให้เห็นเลยครับว่าประกันเหลืออยู่เท่าไร พร้อมแจ้งเตือนเมื่อใกล้หมดประกันด้วย
ระบบเซ็นเซอร์ป้องกันข้อมูลฮาร์ดดิสก์จากการสั่นสะเทือนและตกกระแทก
Backup และ Restore
พร้อมสามารถเช็กไดรเวอร์ว่ามีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาหรือเปล่าได้ด้วย
Lenovo ThinkPad Edge 11 มาพร้อม Windows 7 Home Premium ลิขสิทธิ์แท้ด้วย
คะแนนออกมาตามสเปกโน้ตบุ๊กประหยัดพลังงาน
Lenovo ThinkPad Edge 11 มาพร้อมซีพียูในแพลตฟอร์มประหยัดพลังงาน intel Pentium U5400 แบบ Duo Core ที่ความเร็ว 1.2GHz สเปกซีพียูระดับที่สามารถใช้งานต่าง ๆ ได้สบาย ๆ อีกทั้งยังมากับชิปเซ็ตตัวใหม่ HM55 ซึ่งหมายความว่ารองรับซีพียูได้ถึงระดับ Core i ขึ้นไปตามที่ได้เปิดตัวรุ่นใหม่ Core i3 ในงานที่ผ่านมา
RAM DDR3 ติดตั้งมาให้แล้วขนาด 2 GB พร้อมอีกหนึ่ง Slot ให้สามารถอัพเกรดได้ด้วย
เป็นอีกหนึ่งรุ่นใหม่ของการ์ดจอออนบอร์ดในรุ่น Intel GMA HD สามารถใช้รับชมภาพยนตร์ 720p ได้สบาย ๆ
ไม่มีไดรฟ์ตามรูปแบบของโน้ตบุ๊กบางเบา
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดเท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า web ได้ขนาดไหน
Lenovo ThinkPad Edge 11 มีความละเอียด Resolution ของจอภาพที่ 1366 x 768 ตามขนาดของจอภาพ 11.6 นิ้ว
โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14… โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Pentium U5400 ของ Lenovo ThinkPad Edge 11 สามารถทำเวลาไปได้ 35.505 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M แม้จะมีความเร็วไม่สูงมาก อีกทั้งเป็นแบบประหยัดพลังงาน แต่ก็สามารถทำเวลาไปได้ดีเลยทีเดียว
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เนื่องจากซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ใช้เวลาไปกำลังดีตามประสิทธิภาพของซีพียูประหยัดพลังงาน
เป็นโปรแกรมที่เน้นการทดสอบความแรงด้านกราฟิก 3D ของซีพียู จึงนิยมนำมาทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลักครับ
เวอร์ชันใหม่นี้ทดสอบ 2 ส่วน เพื่อให้ดูง่ายขึ้น ได้แก่ OpenGL ซึ่งได้ค่าที่ 0.70 fps และ CPU ที่ 0.77 pts
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 19.2 ms เป็นขนาด 250 GB มีประสิทธิภาพที่ออกมาจัดอยู่ในระดับดีทีเดียว โดยใช้เวลาไม่นานมาก
Wireless Mon
ทดสอบการรับส่งของการ์ด Wireless
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร การ์ด Wireless ค่าย Intel ให้คุณภาพสัญญาณที่ดี แรง และค่อนข้างนิ่ง
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, HDD คะแนนที่ออกมาในแต่ละส่วนไม่แรงหรือเด่นมากนัก แต่ก็รองรับการใช้งานต่าง ๆ ได้ดี
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบเพียง SM 2.0, CPU Test ไม่แรงมาก แต่ก็รองรับการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้
Preformance Test
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
อยู่ในระดับไม่สูงมากตามสเปกความบางเบา แต่ก็แรงพอตัว
Hardware Monitor
อุณหภูมิสภาพแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เช่น เล่นอินเทอร์เน็ต พิมพ์งาน ด้วยสเปกที่เป็นแบบประหยัดพลังงาน ทำให้อุณหภูมิไม่สูงมาก
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม ORTHOS รันซีพียู และให้โปรแกรม ATI Tool สั่งการ์ดจอ ให้ทำงานที่ 100% เป็นเวลา 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
ทดสอบเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่น พิมพ์งาน เล่นอินเทอร์เน็ตผ่าน Wireless โดยปรับความสว่างของจอภาพสว่างสุดจนแบตเตอรี่เหลือประมาณ 5% ด้วยสเปกที่เป็นแบบประหยัดพลังงาน อีกทั้งแบตเตอรี่ความจุสูงจึงทำให้สามารถใช้งานได้เกือบ ๆ 5 ชั่วโมงเลยทีเดียว
แบบที่ 2 ใช้งานหนัก ๆ
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานหนัก ๆ โดยการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูง ปรับความสว่างของจอภาพสูงสุด และเปิดลำโพงในระดับสูงสุดจนแบตเตอรี่เหลือแค่เพียง 5% แม้ใช้งานหนักๆแล้วก็ยังได้ระดับกว่า 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว
เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการชาร์จแบตเตอรี่ พร้อมกับเปิดใช้งานเครื่องตั้งแต่ 5% จนถึง 100% ใช้เวลาชั่วโมงครึ่งเท่านั้นในการชาร์จแบตเตอรี่
กราฟสรุปการใช้พลังงานแบตเตอรี่ของ Lenovo ThinkPad Edge 11
Lenovo ThinkPad Edge 11 จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง Sub โน้ตบุ๊กที่เพียบพร้อมไปด้วยรูปร่างหน้าตา ซึ่งเหมาะสำหรับท่านที่ชื่นชอบความเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความสวยงาม พร้อมกับฟังก์ชันการใช้งานที่โดดเด่นไม่เหมือนใครในรูปแบบ ThinkPad จาก Lenovo ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดหรือ Touchpad และโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งเหมาะสมและจำเป็นไม่ว่าจะเป็น SMB หรือบุคคลทั่ว ๆ ไป อีกทั้งสเปกที่แม้จะเป็นแบบประหยัดพลังงาน แต่ประสิทธิภาพก็แรงพอที่จะรองรับการใช้งานทั่วไป อีกทั้งขนาดที่บางเบาก็ช่วยให้สามารถพกพาได้สะดวกไม่แพ้ Netbook เลยทีเดียว สำหรับผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กซึ่งเน้นการพกพาที่มาพร้อมประสิทธิภาพและ ฟังก์ชันสมบูรณ์แบบละก็ ขอแนะนำ Lenovo ThinkPad Edge 11 เลยครับ
“Lenovo ThinkPad Edge 11 เล็ก เบา โดดเด่น”
NBS Link (Core i3) : http://www.notebookspec.com/notebook/3322-Lenovo+ThinkPad+Edge+11.html
ซึ่งแต่ละหมวดมีคะแนนเต็ม 5 คะแนนตามประสิทธิภาพของแต่ละหมวด โดย Lenovo ThinkPad Edge 11 สามารถผ่านการทดสอบมาได้ตามระดับคะแนนเลยครับ
- 4/5 –Design
- 3/5 –ความคุ้มค่า (Value)
- 3/5 –Performance
- 5/5 –ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 4/5 –ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 2/5 –Gaming
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Gold ให้แก่ Lenovo ThinkPad Edge 11
ที่มา : http://www.notebookspec.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น