ก่อนที่จะลงลึกถึงส่วนต่าง ๆ ภายใน CPU ที่รวมไปถึงการคำนวณความเร็วสัญญาณนาฬิกานั้น มารู้กันก่อนว่าการใช้ turboboost จะขึ้นอยู่กับการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่รองรับการทำงานแบบหัวเดียว สองหัว และมากกว่าสองหัว ยิ่งมีหลายหัวการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณนาฬิกาก็ยิ่งมีหลายขั้นและยิ่งสามารถ เพิ่มสัญญาณได้สูงกว่า เรามาดูกันว่าคุณสมบัติของ CPU Core i series แต่ละตัวมีคุณสมบัติอย่างไร ดังนี้ครับ
CPU Intel Core i3
เป็น CPU ที่มี 2 core 4 thread โดยใช้ชื่อรหัสว่า Arrandale ซึ่งชื่อรหัสนี้จะถูกใช้ใน CPU core i ที่เป็นสองหัวทั้งหมด แน่นอนว่าจะเจอไปชื่อรหัสนี้ไปถึง Core i7 กันเลย
Intel Core i3 จะแบ่งออกเป็นสองประเภทตามการใช้พลังงาน (TDP) มีหน่วยเป็น วัตต์ (watt) คือ standard voltage และ ultra-low voltage ในส่วนของ intel core i3 จะไม่มี turboboost ตามตารางข้างล่างนี้
Model number คือ ชื่อรุ่นย่อย จะมีสองประเภทคือ M และ UM ตามการใช้พลังงาน
Frequency คือ ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่ CPU รุ่นนี้ทำได้ทุก core ทุก thread โดยความเร็วจะขึ้นอยู่กับการคูณกันของ Multiplier และ system bus
Turbo อัตราส่วนในการลด thread เพื่อเพิ่มสัญญาณนาฬิกาในส่วนของ Core i3 นั้นจะไม่มี
Multiplier เป็นตัวคูณกับ system bus มีผลให้ได้ค่า Frequency โดยที่ system bus มีค่าเท่ากับ 133.33 MHz
โดยคิดตามสูตรดังนี้
Frequency = 133.33 x Multiplier |
ตัวอย่าง
Core i3-350M จะได้ Frequency = 133.33 x 17 = 2266.61 MHz หรือ 2.27 GHz ดังตาราง
Turboboost เป็นการเพิ่มความเร็วของ frequency ขึ้นอยู่กับค่า turbo ซึ่งใน core i3 จะไม่มีการใช้งานนี้
CPU Intel Core i5
เป็น CPU ที่มี 2 core 4 thread และชื่อรหัส Arrandale เช่นกัน ที่แตกต่างจาก core i3 ก็คือมี turboboost รายละเอียดตามตารางดังนี้
Turbo จะบอกเป็นอัตราการคูณเข้าไปโดยที่ 2,2 หรือ 2,4 นั้นคือเมื่อใช้งาน CPU เพียง core ละ thread เท่านั้น โดยที่ไล่จาก 2 core และ 1 core ตามลำดับ ในตารางจะเห็นได้ว่า turbo ใน model number i5-4xxM นั้นจะมีค่า 2,2 แต่ใน i5-5xxM จะมีค่า 2,4 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การใช้งานโปรแกรม 1 core จะได้ความเร็วมากกว่า สูตรคำนวณ turboboost มีดังต่อไปนี้
Turboboost = Frequency + (133.33 MHz x turbo) |
ตัวอย่าง
Core i5-460M 2.53 GHz turbo 2,2
2 core จะได้ Turboboost = 2533 + (133.33 x 2) = 2799.66 MHz หรือ 2.80 GHz
1 core จะได้ Turboboost = 2533 + (133.33 x 2) = 2799.66 MHz หรือ 2.80 GHz
Core i5-540M 2.53 GHz turbo 2,4
2 core จะได้ Turboboost = 2533 + (133.33 x 2) = 2799.66 MHz หรือ 2.80 GHz
1 core จะได้ Turboboost = 2533 + (133.33 x 4) = 3066.32 MHz หรือ 3.07 GHz
จะเห็นได้ว่าเมื่อใช้เพียง 1 core จะได้สัญญาณนาฬิกาสูงกว่า ใน Frequency เดียวกัน
CPU Intel Core i7
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 2 core และ 4 core
Intel Core i7 ชื่อรหัส Arrandale (2 core)
แบ่งเป็นระดับการใช้พลังงาน 3 ระดับ คือ standard, low และ ultra-low นอกจากนี้ L2 และ L3 cache จะมากกว่า core i5
ในการคำนวณค่า Turboboost จะเหมือนกันกับ Core i5
Intel Core i7 ชื่อรหัส Clarksfield (4 core)
มีการใช้พลังงานมากที่สุดเพราะเป็นสถาปัตยกรรมแบบ 45 นาโนเมตร แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ QM และ XM โดยที่ QM หมายถึง Quad Mobile ส่วน XM หมายถึง Extreme Mobile
Turbo จะเรียงลำดับจาก 4 core , 3 core , 2 core และ 1 core
Turboboost จากในตารางจะเห็นได้ว่า turbo มี 4 core และ 3 core เหมือนกัน ดังนั้นจึงมีเพียง 3 step ลองมาคำนวณค่ากันตามสูตรเดิม
ตัวอย่าง
Core i7-740QM 1.73 GHz turbo 1,1,6,9
4 core และ 3 core จะได้ turboboost = 1733 + (133.33 x 1) = 1866 MHz หรือ 1.86 GHz
2 core จะได้ turboboost = 1733 + (133.33 x 6) = 2532.98 MHz หรือ 2.53 GHz
1 core จะได้ turboboost = 1733 + (133.33 x 9) = 2932.97 MHz หรือ 2.93 GHz
Core i7-820QM 1.73 GHz turbo 2,2,8,10
4 core และ 3 core จะได้ turboboost = 1733 + (133.33 x 2) = 1999.66 MHz หรือ 2.00 GHz
2 core จะได้ turboboost = 1733 + (133.33 x 8 ) = 2799.64 MHz หรือ 2.80 GHz
1 core จะได้ turboboost = 1733 + (133.33 x 10) = 3066.3 MHz หรือ 3.07 GHz
ก็จบกันไปแล้วสำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณค่า turboboost ใน CPU core i5 และ i7 น่าจะไขข้อสงสัยกันได้บ้าง สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
บทความอื่นๆ>>>http://www.notebookspec.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น