

สเปกของเครื่อง Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B ถอดแบบมาจากญาติสนิท คือ รุ่น VAIO E Series VPCEA36FH ตัวสีฟ้า สีชมพูสดใสที่เราเห็นกันในร้านตอนนี้ เครื่องยังคงใช้หน่วยประมลผลเป็น Intel Core i5 560M ความเร็ว 2.66 GHz รองรับ Intel Turbo Boost ได้สูงสุด 3.20 GHz และรองรับ Hyper Threading ทำให้ Dual Core ตัวนี้ทำงานพร้อมกัน 4 Thread หน่วยความจำติดตั้งมาให้มีขนาด 4 GB สามารถใส่เพิ่มเป็น 8 GB ได้ มีฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล 500 GB เครื่องทดสอบของเราใช้ Toshiba MK-5065 GSX ที่มีความเร็วในการหมุน 5400 rpm เชื่อมต่อแบบ SATA 3.0 GB/s มี Buffer 8 MB ส่วนกราฟิกการ์ดยังคงเป็น ATI Readeon HD 5650 เจ้าเก่า มีหน่วยความจำสำหรับการ์ดมาให้ 1 GB GDDR3 เล่นหนังหรือเกมที่หน้าจอเกือบ ๆ Full HD ได้อย่างสบาย ต่อไปเป็นจุดที่ VPCEA37FH ไม่เหมือนกับ VPCEA36FH/P ก็คือความละเอียดของหน้าจอที่เพิ่มจาก 1366 x 768 เป็น 1600 x 900 และติดตั้ง Blu-Ray Rewriter มาให้แล้ว ใช่ครับ มันเขียนแผ่น Blu-Ray ได้ด้วย เป็นการเพิ่มในแง่ของความบันเทิงที่มากขึ้น พร้อมสำหรับคนที่ใช้งานหนัก ๆ ด้วย ดูจากสเปกเป็นเครื่องที่ดูลงตัวมาก ๆ ไม่มีส่วนไหนขาดหรือเกินมากเกินไป คราวนี้ลองไปดูหน้าตาของเครื่องกันบ้างดีกว่าครับ

รูปลักษณ์ภายนอก



การออกแบบให้เรียบง่ายดูจะเป็นจุดเด่นของเครื่อง Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B โดยเฉพาะรหัส B ที่ต่อท้ายนั้นเป็นตัวบอกถึงสีของเครื่อง ทำให้เครื่องสีดำตัวนี้ดูเรียบหรูต่างกับตัว สีชมพู เขียว น้ำเงิน แค่การเปลี่ยนสีให้กับบอดี้ของเครื่อง ก็ทำให้เน้นภาพลักษณ์ของเจ้าของเครื่องได้ทันที สำหรับท่านนักธุรกิจทั้งหลายเครื่องนี้สร้างภาพให้คุณดูโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ แน่นอน


วัสดุในส่วนของฝาหลังเป็นผิวมันเงา แต่เป็นรอยนิ้วยากกว่าเครื่องอื่น ๆ อาจจะเป็นเพราะการเคลือบผิว หากรอจับดูจะรู้สึกว่าผิวค่อนข้างหนืด เวลามองใกล้ ๆ จะเห็นการเล่นลายที่ฝังอยู่ข้างในด้วย เดี๋ยวลองดูในรูปล่าง ๆ กันครับ ส่วนที่เด่นอีกจุดหนึ่งก็คือโลโก้ Sony และ VAIO นั้นเอง หลาย ๆ คนก็คงชอบอยู่แล้ว ถ้าหากไม่ติดว่าเครื่องแพงกว่าชาวบ้านเกินไปจนซื้อไม่ลง


ลายที่แอบซ่อนอยู่ด้านในเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เรียงกัน ในรูปอาจจะไม่ชัดมาก ถ้าใครมีโอกาสให้ลองเดินไปดูเครื่องใกล้ ๆ ในร้านนะครับ จะเห็นว่าผิวมันต่างกับในรูปอยู่มาก ทีนี้เราลองมาดูด้านในเครื่องกันบ้างครับ
รูปลักษณ์ภายใน

ลองค่อย ๆ เปิดฝาขึ้นมาดูกัน จะเห็นว่ามีการเล่นพื้นผิววัสดุทั้งผิวมันและผิวด้านเลย


เปิดเครื่อง Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B แบบเต็ม ๆ กันแล้ว จะเห็นหน้าจอขนาด 14 นิ้วเป็นจอเงาสะท้อน ความละเอียดหน้าจอขนาด 1600 x 900 สูงกว่าเครื่องยี่ห้ออื่น ๆ นับเป็นจุดเด่นของทาง Sony อยู่แล้วครับ ตัวเครื่องส่วนใหญ่จะเน้นผิวมันเงาเป็นหลัก มีส่วนของคีย์บอร์ดที่ทำผิววัสดุเป็นแบบด้าน พื้นที่ส่วนที่เป็นที่วางมือมีการออกแบบลายให้เหมือนกับฝาด้านนอก ส่วนบริเวณใกล้ ๆ จอจะเป็นช่องลำโพง และเล่นพื้นด้วยการทำเป็นจุดวงกลม ๆ มีตรง Touch Pad ที่ทำเป็นปุ่มเล็ก ๆ ถี่ ๆ ซึ่งรู้สึกว่ามันจะถี่มากไป ทำให้ใช้งานได้ไม่ค่อยถนัดนัก


แกนพับจออันเล็ก ถ้ากางจอไปจนสุด จะเห็นส่วนที่เป็นช่องเอาไว้เสียบเข้าไปกับแกน เพราะฉะนั้นไม่ควรไปกางจอเล่นนะครับ เดี๋ยวมันหลุดออกมาจะยุ่งเอา
ความหนาของจอ


ฝาจอบางอย่างเห็นได้ชัดครับ และสามารถกางออกได้ประมาณ 135 องศา ถ้ากางมากกว่านั้นจออาจจะหลุดได้ง่าย ๆ
เปรียบเทียบขนาดตัวเครื่อง

ความหนาของทั้งเครื่องและจอรวมกันได้ประมาณ 2 กล่อง DVD มาตรฐานนิด ๆ ครับ

ด้านล่างของเครื่อง

เครื่องทดสอบ Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B ของเรามีสติกเกอร์ค่อนข้างเยอะ ไม่รู้ว่าติดอะไรเต็มไปหมดเลย จะมีแผ่นสีขาวด้านขวาบนสุดที่มีชื่อรุ่นเขียนเอาไว้บรรทัดที่สอง ส่วนจุดเด่นอื่น ๆ ก็คงเป็นช่องเปลี่ยนหน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ ส่วนแบตเตอรี่จะใส่แบบแปลก ๆ นิดนึง
ช่องระบายอากาศ

ช่องระบายอากาศมีแนวใหญ่และยาวดีครับ ทำให้อากาศมีช่องไหลเข้าและออกได้ดี ทำให้ดึงเอาความร้อนที่อบอยู่ไหลออกมาได้ง่าย ช่องมีกระจายไปหลาย ๆ จุดด้วย และถ้าหากทาง Sony เปิดช่องระบายให้ตรงฮาร์ดดิสก์ด้วยจะดีมากเลย

แนวระบายอากาศด้านข้างยาวครับ เกือบเต็มคีย์บอร์ดเลย

Keyboard


คีย์บอร์ดของเครื่อง Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B ออกแบบมาเป็น Chicklet หรือว่า Island ทำให้เวลาพิมพ์จะรู้สึกว่าแป้นแต่ละตัวแยกออกจากกัน อาจจะต้องหัดพิมพ์กันเล็กน้อยสำหรับคนที่ไม่เคยใช้คีย์บอร์ดแบบนี้ สำหรับการจัดเรียงปุ่มก็โอเคครับ เท่าที่ลองพิมพ์ดูก็มีกะระยะคีย์บอร์ดผิดบ้าง เพราะมันต่างจากเครื่องที่ใช้ทำงาน

ปุ่ม FN มีครบถ้วน ไม่ว่าจะเพิ่ม ลดเสียง ความสว่างหน้าจอ มีปรับให้ซูมหน้าจอได้ด้วย



ไฟแสดงสถานะของคีย์บอร์ดเป็นจุดที่หลาย ๆ เครื่องตัดทิ้งออกไปจนแทบจะหาไม่ได้ แต่ของ Sony ยังเก็บไว้ทั้ง 3 ปุ่มเลย หลายคนที่พิมพ์เอกสารบ่อย ๆ คงอยากได้เอาไว้ดู ส่วนไฟ Scroll Lock เอาไว้ใช้กับ Excel ได้อยู่นะครับ เผื่อใครสงสัยว่ายังมีไว้ทำไม ส่วนอีก 3 ปุ่มที่อยู่ด้านล่างก็เป็นปุ่มที่เอาไว้เปิดโปรแกรมเฉพาะสำหรับการปรับแต่ง เครื่อง อย่างเช่น Assist จะเปิดโปรแกรม Vaio Care ทำให้เราตั้งค่าพวกแบตเตอรี่หรื อะไรต่าง ๆ ได้ง่าย หรือปุ่ม Web ที่ทำให้เครื่องนี้สามารถเข้าอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วอีกเช่นกัน อันนี้คงต้องลอง

ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง เวลาเปิดจะมีไฟสีเขียว เวลาแบตฯ ใกล้หมดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงกะพริบ
Touch Pad

Touch Pad ของเครื่อง Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B มีปุ่มเล็ก ๆ เรียงอยู่เต็ม ด้านล่างเป็นปุ่มกดแบบแยกออกจากกัน ปุ่มไม่ลึกมาก เวลากดจะรู้สึกแข็ง ๆ นิดหน่อย เวลาใช้งานจริงตอนลากใกล้ ๆ รู้สึกติดขัด อาจจะเป็นที่อุณหภูมิหรือความไวของ Touch Pad หลังจากนั้นผมลองเล่นเกม Arc of The Galaxy ซึ่งออกแบบมาให้ใช้เมาส์ในการควบคุมยานอวกาศเป็นหลัก ก็พบว่าการใช้ Touch Pad เล่นและกดปุ่มอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้ผมสามารถเล่นเกมนี้ได้เหมือนกัน

ที่รองมือด้านซ้ายมีโลโก้ของ VAIO และใช้พื้นผิวเหมือนกับฝาจอด้านนอกครับ

อีกด้านเต็มไปด้วยสติกเกอร์ ถ้าเรียงสติกเกอร์ให้ดี ๆ น่าจะสวยกว่านี้นะครับ


ด้านหน้า

ด้านหน้าของเครื่องมีช่องเสียบ Memory Stick / SD Card / Wi-Fi / ไฟแสดงสถานะ / Mic / Headphone

ช่องเสียบการ์ดแยกออกจากกันทั้งสองประเภท มีสวิตช์ปิด-เปิด Wi-Fi แบบชัดเจน
ด้านซ้าย

ด้านซ้ายอัดแน่นไปด้วยพอร์ตเชื่อมต่อ สายไฟ / LAN / ช่องระบายอากาศ / VGA / HDMI / eSATA / ExpressCard


คนออกแบบตัวบอร์ดจัดเรียงพอร์ตได้เป็นระเบียบมากครับ ไม่กระจายไปหลาย ๆ จุดจนหาช่องเสียบไม่ค่อยจะเจอแบบบางเครื่อง
ด้านขวา

ด้านขวาเรียงกันเต็มด้วย USB2.0 x 3 / Blu-Ray Drive / Kensington Lock
ด้านหลัง

ด้านหลังไม่มีพอร์ตอะไร

Webcam

ความละเอียดกล้อง 0.3 MP (640 x 480) ครับ ถ้าหากใช้โปรแกรมที่แถมมาให้ ก็จะปรับความละเอียดของภาพได้ตามด้านล่างครับ


ลำโพงสเตอริโอซ่อนอยู่ในแนวลายด้านบนของคีย์บอร์ด

แบตเตอรี่

แบตฯ เวลาใส่เข้าไปข้างในจะต้องหย่อนให้ลงช่องครับ เวลาถอดก็งัดตรงที่เขาทำรอยไว้ให้

แบตเตอรี่ของเครื่องมีขนาด 5,000 mAh 54 Wh
อแดปเตอร์


Sony VAIO Gate

ลักษณะการทำงานคล้าย ๆ Mac OS X Dock ครับ มีลูกเล่นมันเลื่อนตามเมาส์ได้ด้วย แต่ถ้าอยากได้โปรแกรม Dock ดี ๆ ลองใช้โปรแกรมอื่นจะดีกว่าครับ
Sony VAIO Control Center

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ดีมาก ๆ ในแง่ของการปรับแต่งอุปกรณ์ในเครื่องให้มารวมอยู่ที่จุดเดียว เหมาะกับคนที่ใช้อย่างเดียว แต่ไม่รู้วิธีปรับแต่งมากนัก แต่ถ้าใครปรับเป็นอยู่แล้วอาจจะไม่ต้องพึ่งโปรแกรมนี้มากก็ได้ครับ สำหรับภาษาไทยในโปรแกรมนี้อ่านง่ายดีครับ ไม่รู้สึกเหมือนคอมพิวเตอร์แปลมา


มีบางตัวเลือกที่ปรับได้เฉพาะจากโปรแกรมนี้ ใน Windows ทั่วไปไม่มีมาให้




เป็นโปรแกรมที่ดีครับ ครอบคลุมการปรับแต่งสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปอย่างครบถ้วน
Adobe Photoshop Elements 8

Abobe Photoshop Elements เป็นโปรแกรมที่ทำออกมาให้เหมาะกับคนใช้ตามบ้านมากกว่าตัว Adobe Photoshop รุ่นใหญ่ที่ใช้งานยาก โปรแกรมได้รับการโหวตว่าได้รับความนิยมมากกว่าโปรแกรมตัดแต่งภาพแบบไม่คิด เงินทั้งหลายอย่างพวก GIMP หรือว่า Paint.net เพราะได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายกว่ามาก ถึงแม้ว่าความสามารถจะสู้ของเต็มไม่ได้
Adobe Premiere Elements 8

ขึ้นชื่อว่า Adobe Premiere หลาย ๆ คนย่อมรู้จักว่ามันคือโปรแกรมตัดต่อภาพยนตร์ตัวมาตรฐาน ที่ต้องหัดไว้ก่อนไปเรียนรู้โปรแกรมขั้นสูงถัดไป ทาง Sony ก็ได้ใส่รุ่น Elements มาให้เป็นเพื่อนกับ Photoshop เพื่อให้คนที่ซื้อเครื่องนี้ไปใช้สามารถตัดต่อภาพความประทับใจได้อย่าง สมบูรณ์
Sony VAIO Care

โปรแกรมที่ให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาและตรวจสอบสถานะของเครื่องกับปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ





คะแนน Index ของ Windows ได้คะแนนออกมาในระดับสูงในทุก ๆ ส่วนประกอบ แม้จะไม่ได้สูงที่สุด แต่เป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่า เครื่องได้รับการออกแบบให้อุปกรณ์ภายในสามารถทำงานด้วยกันโดยไม่มีส่วนไหน เป็นคอขวดหรือเป็นจุดอ่อนมากไป

โปรแกรม CPU-Z ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของ CPU ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง รวมทั้ง Chipset และหน่วยความจำหลัก


หน่วยประมวล Intel Core i5 560M ความเร็ว 2.66 GHz แคช L2 3 MB รองรับ Turbo Boost ไปถึง 3.20 GHz และ Hyper Threading ทำให้ Dual Core ตัวนี้ทำงานเป็น 4 Thread ตัวนี้ก็เป็นตัวใหม่ที่อีกสักพักเราก็คงจะเห็นเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ออกมาใช้กันมากกว่านี้นะครับ

Chipset ของเครื่องเป็น Intel HM55 ตัวยอดฮิต


หน่วยความจำที่ติดมากับเครื่องมีขนาด 4 GB DDR 3 เป็นของผู้ผลิต A-Data Technology ใส่ขนาด 2 GB มาให้จำนวน 2 แผง

โปรแกรม GPU-Z ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของ GPU และ IGP ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ดูรายละเอียดของอุณหภูมิก็ได้ รองรับเครื่องที่มีสอง GPU ด้วย

กราฟิกการ์ดไม่ใช่ย่อยเหมือนกัน ATI Radeon HD 5650 มีหน่วยความจำ 1024 MB GDDR 3 ก็มีความสามารถในการทำงานไม่น้อยแน่นอน ไม่ว่าจะดู Blu-Ray หรือไฟล์ HD ก็ทำได้ลื่นไหลครับ การเล่นเกมก็โอเค ถ้าเราไม่ปรับให้สูงมากเกินไป

ความละเอียดหน้าจอ


NotebookSpec

LCDSpec

Notebook For Game



โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลางจะได้เป็นค่า 3.14… โดยที่ทศนิยมนั้ เป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง

*ส่วนการทดสอบด้วยโปรแกรม Hyper PI ทางทีมงานไม่มีผลการทดสอบมาให้ดู เพราะว่าโปรแกรมไม่ยอมคำนวณผลออกมาให้นะครับ น่าจะเป็นที่ CPU เป็นรุ่นใหม่อยู่ครับ

โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวนทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา


โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
ทดสอบที่ความละเอียด 1280 x 720



โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพ ที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D



โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลาย ๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย


คะแนนรวมของ Performance Test ไม่น้อยเลยครับ ส่วนคะแนนย่อย ๆ ตามกลุ่มจะมี 2D Graphic ที่ได้คะแนนน้อยแปลก ๆ แต่การใช้งานจริงก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย เครื่องเก่ากว่านี้ก็ทำงานได้ดีอยู่แล้ว

โปรแกรม Sisoftware Sandra ใช้ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลายคนรู้จักกันดี นอกจากเอาไว้อ่านค่าต่าง ๆ แล้วยังมีความสามารถในการทดสอบระบบและเปรียบเทียบผลลัพท์ที่ออกมากับค่ากลาง ของอุปกรณ์รุ่นอื่น ๆ ได้ทันที โดยจะทดสอบใน 3 โหมด ดังนี้
1. Processor Arithmetic




โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่านและการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้


โปรแกรม Nero InfoTool ใช้เพื่อตรวจสอบระบบการเขียนหรืออ่านแผ่นที่แต่ละเครื่องรองรับ รวมทั้งความเร็วด้วย


โปรแกรม Bettery Mon ใช้เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแบตเตอรี่ที่กำลังใช้กับเครื่อง และวัดระดับการใช้พลังงานออกมาเป็นกราฟได้ด้วย
ข้อมูลของแบตเตอร์รี่

ระยะเวลาการใช้งาน

ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่


โปรแกรม Wireless Mon ใช้ในการวัดความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย


วิธีการทดสอบ ใช้โปรแกรม CPU Burn-In เปิดตามจำนวน Thread ของ CPU ใช้ ATI Tools เปิดภาพสามมิติ และเปิดไฟล์วิดีโอขนาด 1920 x 1080 พร้อมกัน เพื่อให้เครื่องได้ทำการประมวลผลในทุกส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และวัดผลด้วยโปรแกรม HW Monitor
อุณหภูมิก่อนการทดสอบ


อุณหภูมิหลังการทดสอบ



ข้อดี
- การออกแบบตัวเครื่องที่ดีทั้งภายนอกและภายใน
- สเปกเครื่องออกแบบมาให้เหมาะสมกันทุกส่วน ไม่มีส่วนไหนเป็นคอขวด
- หน้าจอความละเอียด 1600 x 900 สูงกว่าผู้ผลิตอื่น ๆ
- ติดตั้ง Blu-Ray Rewriter มาให้เรียบร้อยแล้ว
- ราคาสูง สำหรับคนทั่วไป


NBS เราได้มีการมอบรางวัลให้โน๊ตบุ๊กที่ผ่านการประเมินคะแนนในด้านต่าง ๆ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่โน๊ตบุ๊กรุ่นนั้น ๆ ที่เราได้ทดสอบไป
โดยจะตัดสินจาก 6 หัวข้อหลัก ได้แก่
- Design
- ความคุ้มค่า (Value)
- Performance
- ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- Gaming
โดยระดับคะแนนที่ได้ รางวัลต่าง ๆ ได้แก่
25 คะแนนขึ้นไป



- 5/5 –Design
- 2/5 –ความคุ้มค่า (Value)
- 4/5 –Performance
- 4/5 –ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 2/5 –ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 3/5 –Gaming
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Gold แก่ Sony VAIO VPCEA37FH/B

ที่มา : http://www.notebookspec.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น