สเปกของเครื่อง HP Pavilion dv3 4122TX ดูเด่นด้วย CPU มีระดับแบบ Intel Core i7 720QM ความเร็ว 1.60 GHz แบบ Quad Core รองรับ Hyperthreading ทำให้เครื่องสามารถรองรับงานที่ต้องการการประมวลผลจาก CPU หนัก ๆ ได้ดีเยี่ยม หน่วยความจำขนาด 4 GB ก็เป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องในสมัยนี้ที่กำลังเข้าสู่ยุค 64 บิตเต็มตัว พร้อมกระชากความแรงให้ใจหายด้วยการ์ดจอ ATI Radeon HD 5470 พร้อมหน่วยความจำขนาด 1 GB GDDR3 แต่ก็ได้ฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 7200 RPM จาก Western Digital รุ่น Black Scorpio ขนาด 320 GB ทดแทน เอาเป็นว่าเราไปดูตัวเครื่องกันดีกว่าครับ
รูปลักษณ์ภายนอก
ขึ้นชื่อว่า HP ก็ต้องมีการเล่นลายที่ฝาจอด้านนอกกันบ้าง dv3 เครื่องนี้ก็เช่นกัน มีการเล่นลายที่ฝาเป็นเส้นซ้อนกันไปทั่วทั้งฝา โดยส่วนที่เป็นลายเส้นจะเป็นผิวเงา ๆ ส่วนที่เป็นพื้นธรรมดาจะเป็นผิวด้าน จะเห็นได้ชัดเวลาที่ต้องกับแสงไฟ ส่วนจุดเด่นอีกจุดก็คือ โลโก้ของ HP เอง วัสดุที่ใช้ทำก็ดูเป็นพลาสติกธรรมดา พื้นผิวด้านเป็นส่วนใหญ่ทำให้ไม่เป็นรอยนิ้วมือ
โลโก้ค่อนข้างเด่นเหมือนกัน แต่น่าจะไปอยู่ตรงกลางมากกว่า
เห็นลวดลายที่พื้นผิวกันชัด ๆ
รูปลักษณ์ภายใน
พอเปิดมาด้านในก็จะเห็นพื้นด้านในเป็นวัสดุผิวด้านสีดำ มีการเล่นขอบตัดเป็นสีเงินแบบทูโทน จุดที่เห็นเด่นชัด คือ Touch Pad ขนาดใหญ่ ส่วนวัสดุบริเวณฝาจะเป็นผิวดำเงาเช่นเดียวกับจอที่เป็นแบบกระจก
หน้าจอขนาด 14 นิ้ว ความละเอียดมาตรฐานที่ 1366 x 768 เป็นจอแบบ LED ให้ภาพที่สว่างสดใส
ที่บริเวณขอบจอมียางกันกระแทกเป็นแนวยาว
แกนยึดจอดูมีขนาดเล็กเวลามองจากด้านใน มีการเล่นสีเงินแบบตัวขอบของเครื่อง แกนยึดจอมั่นคง มีแรงต้านพอเหมาะเวลาเปิด-ปิดจอ
ที่พักมือเป็นผิวด้าน ๆ ไม่เป็นรอยเวลาใช้งาน มีขอบแยกกับ Touch Pad ชัดเจน
เปรียบเทียบขนาดตัวเครื่อง
ตัวเครื่องโดยรวมแล้วยังไม่หนามากครับ จะหนาประมาณกล่อง DVD มาตรฐานสองกล่องกว่า ๆ แค่นั้น
ลองช่างน้ำหนักของเครื่องโดยไม่รวมอแดปเตอร์ได้ประมาณ 2 กิโลกรัม
แต่ถ้าหากเราต้องแบกอแดปเตอร์ไปทำงานทุกวัน ก็ต้องเพิ่มน้ำหนักไปอีกประมาณ 400 กรัม คิดซะว่าออกกำลังกายครับ
ด้านล่างของเครื่อง
ใต้เครื่องมีช่องระบายอากาศเป็นแนวยาวและดูใหญ่ดีครับ แต่ว่าถ้ามองใกล้ ๆ จะเห็นว่ามีตะแกรงรองอีกหนึ่งชั้น ซึ่งอาจจะทำให้ลมเข้ายากกว่าเดิมด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังมีฝาสำหรับเปิดให้เปลี่ยนอุปกรณ์ขนาดใหญ่ได้อีกด้วย ไม่น่ามีปัญหาสำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดอะไรข้างใน
ใบแสดงตัวครับ HP Pavillion dv3-4122TX
ที่เห็นเป็นช่องเล็ก ๆ 4 ช่องเป็นลำโพงของ Altec แต่ว่าช่องเล็กไปหรือเปล่า แถมอยู่ด้านล่างของเครื่องด้วย ใครอยากได้ลำโพงเสียงดี ๆ คงต้องต่อหูฟังแยกเอาแล้วละ
ช่องแบตเตอรี่เวลาถอดให้ดันสลักไปให้สุด แล้วแบตฯ ก้อนยักษ์จะลอยออกมา
ช่องระบายอากาศ
ดูช่องระบายอากาศให้อุ่นใจ
มีแนวระบายอากาศอยู่ที่มุมทั้งสองด้านด้วย
Keyboard
การจัดเรียงปุ่มของคีย์บอร์ดแบบ Island ถือว่าดีครับ แต่ว่าไม่มีปุ่มพิเศษบางปุ่ม เช่น Page Up, Page Down ตรงนี้เป็นจุดที่น่าผิดหวังมาก ๆ เครื่องขนาดเดียวกันหลายเครื่องก็มีปุ่มพวกนี้ให้ การขาดปุ่มพวกนี้อาจจะหมายถึง การทำงานกับบางโปรแกรมไม่ได้เลยทีเดียว
ปุ่ม FN สำหรับการสั่งงานทั้งปรับความสว่างจอและการเล่นเพลง
ไม่มีปุ่มคำสั่งพิเศษ พวก Page Up, Page Down แม้ว่าจะเป็นตัวที่ใช้กับปุ่ม FN ก็ไม่มีให้
ปุ่มเปิด-ปิดเครื่องมีขนาดเล็กและอยู่ในร่อง กดยากครับ
Touch Pad
Touch Pad ขนาดใหญ่ยักษ์ ส่วนที่ถูกตีเส้นให้เป็นปุ่มสามารถใช้ลากได้เช่นกัน เวลากดที่ Touch Pad แล้วจะยวบลงไป
ด้านหน้าเรียบ ๆ มีแค่ช่องใส่การ์ดและลำโพงที่อยู่ด้านล่าง
ด้านซ้าย
ด้านซ้ายของเครื่องมี Kensington Lock / ช่องระบายอากาศ / VGA / LAN / HDMI / e-SATA / Mic / Headphone / ไฟแสดงสถานะ
ด้านขวา
ด้านขวาของเครื่องมีเครื่องอ่าน DVD / USB2.0 x 2 / ช่องเสียบสายไฟ
ด้านหลัง
ด้านหลังมีช่องระบายอากาศอย่างเดียวครับ
Webcam
โน้ตบุ๊กสมัยนี้จะไม่มีกล้องเว็บแคมติดมาให้ได้อย่างไร แถมยังมีเทคโนโลยีของทาง HP โดยเฉพาะด้วย ต้องได้ภาพที่ดีกว่าเจ้าอื่น ๆ แน่นอน
Speaker
ลำโพงน้อย ๆ ของ Altec น่าจะทำช่องให้ใหญ่หรือเยอะกว่านี้อีกนิดนะครับ เสียงจะได้ไม่โดนบังหมด
แบตเตอรี่
แบตฯ ขนาด 5,000 mAh ครับ อยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมงกว่า ๆ ในการใช้งานตามปกติ
อแดปเตอร์
ขนาดของอแดปเตอร์ก็ปกติครับ ไม่เล็กไม่ใหญ่ น้ำหนักประมาณ 400 กรัม
ด้านขวา
ที่พักมือด้านขวามีสติกเกอร์ของ Intel Core i7 และ ATI Radeon อยู่
เนื่องจากเครื่อง HP Pavilion dv3 4122TX ไม่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการมาให้ เราจึงลง Windows 7 Ultimate 64 บิต เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้
โปรแกรม CPU-Z ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดของ CPU ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง รวมทั้ง Chipset และหน่วยความจำหลัก
มันสมองของ HP Pavilion dv3 4122TX ได้พลังจาก Intel Core i7 720QM เป็น Quad Core พร้อม Hyper Threading ทำงานที่ความเร็ว 1.60 GHz และยังรองรับ Intel Turbo Boost เพื่อเร่งความเร็วในการทำงานให้สูงขึ้นไปอีก
เครื่อง HP Pavilion dv3 4122TX ยังคงใช้ Chipset ยอดนิยมอย่าง Intel HM55 ไม่เสื่อมคลาย
เครื่องติดตั้งแรมมาให้จำนวน 4 GB แบบ DDR3 Dual Channel เป็นแรมของทาง Samsung ขนาด 2 GB จำนวน 2 แผง
โปรแกรม GPU-Z ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดของ GPU และ IGP ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ดูรายละเอียดของอุณหภูมิได้ รองรับเครื่องที่มีสอง GPU ด้วย
การ์ดจอไม่ต้องพูดถึงเรื่องความแรง เพราะมันไม่แรงเลย สำหรับ ATI Radeon HD 5470 พร้อมแรมขนาด 1 GB GDDR3 เอาเป็นว่าดีกว่าการ์ดจอออนบอร์ดก็แล้วกัน
ความละเอียดหน้าจอ
ความละเอียดของหน้าจอขนาด 14 นิ้ว ยังคงเป็น 1366 x 768 มาตรฐาน หน้าจอแบบ LED ให้ภาพที่ชัดเจนดี
NotebookSpec
LCDSpec
Notebook For Game
โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14… โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
Intel Core i7 720QM ยังคำนวณค่าได้เร็วเหมือนเดิม 15 วินาทีกว่าๆ ไม่ต้องห่วงเวลาทำงาน ความเร็วระดับนี้เหลือเฟืออยู่แล้ว
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
พอให้มาคำนวณพร้อมกันหลาย ๆ Thread ความเร็วในการคำนวณตกลงไปเยอะเหมือนกัน ความเร็วในการทำงานจริงก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่เราใช้เหมือนกันครับว่า มันต้องการ CPU ในการประมวลผลแบบไหน ทำงานพร้อมกันเยอะ ๆ หรือทำงานอย่างเดียวไว ๆ
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวณทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
คะแนนเกือบ ๆ 6 พัน ถ้าเครื่องนี้จะมีจุดอ่อนก็เป็นที่การ์ดจอเนี่ยละ ที่ทำให้เครื่องไม่สามารถรีดพลังออกมาได้มากกว่านี้ สำหรับการใช้งานเครื่องในเรื่องของการดูหนังฟังเพลง ก็ถือว่าทำได้ครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว เครื่องเลยเรียกคะแนนออกมาได้ทุกส่วน
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
ทดสอบที่ความละเอียด 1280 x 720 AA 0X AF 8
ทดสอบที่ความละเอียด 1366 x 768 AA 0X AF 8
ถึงจะมี CPU เป็น Intel Core i7 แต่ก็ไม่สามารถช่วยการ์ดจอ ATI Radeon HD 5470 ให้ทำงานได้ดีกว่าที่มันถูกออกแบบมา ถ้าจะเอามาเล่นเกมควรหาเครื่องที่มีการ์ดจอระดับกลาง ๆ ขึ้นไปอย่าง ATI Radeon HD 5650 ครับ เพราะถึงยังไงก็เปลี่ยนใหม่ไม่ได้อยู่แล้ว
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
ใครอยากได้เครื่องนี้มาทำงานสามมิติก็ยังไม่คุ้มเท่าที่ควรนะครับ เพราะการ์ดจอยังเป็นระดับล่าง ไม่ได้ออกแบบมาไว้ทำงานหนัก ๆ แต่ถ้าเอามาทำพวก AutoCAD ในส่วนของงานเขียนแบบสองมิติก็ใช้ได้ครับ
โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลาย ๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย
คะแนนค่อนข้างดีสำหรับเครื่องนี้ เพราะได้รับพลังมาจาก Intel Core i7 720QM ที่มีส่วนดึงคะแนนออกมา ส่วนที่เป็นจุดหน่วงของเครื่องก็ไม่พ้นการ์ดจอที่ใช้ ATI Radeon HD 5470 ใครคิดจะซื้อมาใช้งานการ์ดจอหนัก ๆ ก็หาเครื่องอื่นได้เลยครับ
โปรแกรม SiSoftware Sandra ใช้ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลายคนรู้จักกันดี นอกจากเอาไว้อ่านค่าต่าง ๆ แล้ว ยังมีความสามารถในการทดสอบระบบและเปรียบเทียบผลลัพท์ที่ออกมากับค่ากลางของ อุปกรณ์รุ่นอื่น ๆ ได้ทันที โดยจะทดสอบใน 3 โหมด ดังนี้
1. Processor Arithmetic
2. Memory Bandwidth
3. File Systems
โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่านและการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาในเครื่อง คือ Western Digital Scorpio Black ครับ ความจุ 320 GB หมุนที่ความเร็ว 7200 RPM เชื่อมต่อด้วย SATAII อัตราการส่ง 3 GB/s เรื่องความเร็วไม่ต้องห่วงสำหรับรุ่นนี้ครับ เพราะอัตราการส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 68.5 MB/s เข้าไปแล้ว อัตราการเข้าถึงข้อมูล 14.8 ms เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กทั่วไปแบบ 5400 RPM ครับ เจอ Burst Rate ไปเป็นร้อย อยากได้เร็วกว่านี้ต้องติด SSD แล้วครับ
โปรแกรม Nero InfoTool ใช้เพื่อตรวจสอบระบบการเขียนหรืออ่านแผ่นที่แต่ละเครื่องรองรับ รวมทั้งความเร็วด้วย
เครื่องอ่านแผ่น DVD เป็นของ HP เองเลย รุ่น CDDVDW TS-L633N ความเร็วและคุณสมบัติการเขียนก็เป็นมาตรฐานธรรมดา
โปรแกรม Wireless Mon ใช้ในการวัดความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย
การ์ด Wi-Fi ของ Broadcom รุ่น 4313 802.11b/g/n การทำงานดีครับ สัญญาณไม่แกว่งมาก อยู่ประมาณ 10% เท่านั้น ส่วนสัญญาณไม่แรงเป็นเพราะตัวส่งเน็ตที่ออฟฟิศอยู่ไกลครับ
วิธีการทดสอบ ใช้โปรแกรม CPU Burn-In เปิดตามจำนวน Thread ของ CPU ใช้ ATI Tools เปิดภาพสามมิติ และเปิดไฟล์วิดีโอขนาด 1920 x 1080 พร้อมกัน เพื่อให้เครื่องได้ทำการประมวลผลในทุกส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และวัดผลด้วยโปรแกรม HW Monitor
อุณหภูมิก่อนการทดสอบ
ระหว่างการทดสอบ
อุณหภูมิหลังการทดสอบ
อุณหภูมิในการทำงานแบบเต็มที่ที่ได้ออกมากว่า 80 องศา ก็ถือว่าค่อนข้างร้อนเลย ถ้าเทียบกับตอนที่ยังเป็น Idle ที่อยู่ประมาณ 45 องศา ใครจะเอาไปใช้ทำงานนาน ๆ ก็ควรจะหาแผ่นระบายความร้อนมาช่วยอย่างยิ่งครับ
เครื่อง HP Pavilion dv3 4122TX เป็นโน้ตบุ๊กที่ไม่ได้มีจุดเด่นอะไรเป็นพิเศษ นอกจากลวดลายที่ฝาด้านนอกเท่านั้น เครื่องที่ได้มาทดสอบมีอาการค้างเวลาเล่นเกมเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ตลอดการทดสอบด้วย แม้จะเป็นเกมเล็ก ๆ อย่าง Nyx Quest Kindred Spirits น่าจะเป็นปัญหาในส่วนของไดรเวอร์ที่ทำงานไม่เต็มที่ครับ ถ้าหากได้รับการแก้ไขในส่วนของไดรเวอร์ให้สมบูรณ์ ก็น่าจะพร้อมใช้งานมากกว่านี้
ข้อดี
- มีลวดลายที่ฝาด้านนอก
- ฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 7200 RPM ของ Western Digital
- ไดรเวอร์ทำงานได้ไม่สมบูรณ์
- ไม่มีปุ่มคำสั่งพิเศษพื้นฐาน เช่น Page Up, Page Down
- ไฟแสดงสถานะอยู่ด้านข้าง ผู้ใช้มองไม่เห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น