กิจกรรม Click กระจาย ยิ่ง Click มาก ยิ่งมีสิทธิ์ลุ้น มูลค่ารวมกว่า 300,000 บาท

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาอัพเกรดโน้ตบุ๊กเครื่องเก่า ให้พร้อมลุย ฉลุยไปทุกงาน

เมื่อไรก็ตามที่คุณคิดจะอัพเกรดตัวโน้ตบุ๊กอย่าลืมทำการหาข้อมูลบน อินเตอร์เน็ตก่อนว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถปรับเปลี่ยนได้มากแค่ไหน ส่วน ไกด์ด้านล่างของเราจะเป็นตัวอย่างให้เห็นกับเครื่องที่ต้องมีวิธีพิเศษในการ เปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้คุณหมดกำลังใจซะก่อนได้ บางอย่างก็ใช้เวลาแค่ห้านาทีในการทำ บางอย่างอาจจะกินเวลาเป็นวันๆ สิ่งหนึ่งที่คุณความจะทำก็คือ หัดรื้อเครื่องของคุณให้ได้ซะก่อนที่จะไปซื้อของมาใส่ เพื่อคุณจะได้รู้ว่าคุณจะเจออะไรบ้าง อีกวิธีที่ทำได้ก็คือเข้าไปที่เว็บผู้ผลิตแล้วก็หาคู่มือมาอ่านซะ เพื่อจะได้รู้ว่าจะทำอะไรกับเครื่องได้บ้าง
ต้องทำอย่างไรเพื่อจะอัพเกรดเครื่อง
มีอยู่สามจุดที่คุณสามารถทำได้เองในการจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องของคุณ
009 Ram
1. เพิ่มแรม
ถ้าคุณซื้อเครื่องมาสัดสองสามปีและตัวเครื่องมีแรมมาให้ 2 GB หรือน้อยกว่านั้น ตอนนี้การจะเพิ่มเป็น 3 GB ขึ้นไปน่าจะเป็นความคิดที่ดีแล้ว มันช่วยให้โปรแกรมโหลดเร็วขึ้นและช่วยให้การทำงานพร้อมกันหลายๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าคุณคิดจะใส่แรมมากกว่า 4 GB คุณต้องการระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิต ด้วย เพื่อจะได้ใช้งานหน่วยความจำเยอะขนาดนั้น สำหรับโน้ตบุ๊กในปัจจุบันต้องซื้อแรมแบบ DDR3 ถ้าเก่ากว่านั้นไม่มากลองดู DDR2 ถ้าหากเครื่องเก่าที่ใช้ยังเป็นแบบ DDR แสดงว่ามันเก่าจนควรจะหาเครื่องใหม่ได้แล้ว อย่าลืมที่ต้องดูให้แน่ใจก่อนจะซื้อแรมว่ามันเป็นแบบเดียวกับช่องใส่ ไม่อย่างงั้นเสียเงินเปล่าแน่
010 Harddisk
2. เพิ่มฮาร์ดดิสก์
นี้เครื่องโน้ตบุ๊กมักจะใส่ฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 5400 RPM มาให้ การอัพเดตไปเป็น 7200 RPM หรือใส่แบบ SSD ไปเลยจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป สามารถบูตได้ไวขึ้น เสียเวลาเปิดโปรแกรมน้อยลง ระบบสามารถตอบสนองได้ดีขึ้น ตอนนี้ราคาฮาร์ดดิสก์แบบ 7200 RPM อยู่ที่ 1,600 บาท ส่วน SSD จะมีราคาหลายพันถึงหลายหมื่นบาทแต่ก็ได้ความเร็วที่ยอดเยี่ยมเป็นของขวัญ
012 Ubuntu
3. อัพเดตระบบปฏิบัติการ
ถ้ายังใช้ Windows XP หรือ Windows Vista ตอนนี้การอัพเกรดไปสู่ Windows 7 จะเปลี่ยนทั้งหน้าตาและการทำงานของเครื่องคุณ ถ้ามีแรมมากพอสัก 2 GB มันจะมีความเสถียรภาพ โหลดได้เร็วขึ้น เปิดเครื่องจากโหมด Sleep ไวขึ้น ถ้าอยากได้ทางเลือกอื่นๆ จะลอง Ubuntu ก็ได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนใครที่ใช้เครื่องแม็คก็สามารถอัพเดตเป็นรุ่นล่าสุดได้เลย
011 GPU
อัพเกรดกราฟิกการ์ดบนโน้ตบุ๊ก
หลังจากที่เราอัพเกรดอะไรที่ง่ายๆ กันไปแล้ว ตอนนี้มาถึงหนึ่งในคำถามยอดฮิตซึ่งเข้าใจผิดกันมากเหลือเกิน อยากจะอัพเกรดการ์ดจอต้องทำยังไง? มีโน้ตบุ๊กในตลาดสัก 2% ในตลาดที่มีความสามารถในการอัพเกรดชิ้นส่วนนี้ได้ โดยทั่วไปแล้วตัว GPU จะถูกเชื่อมเข้ากับเมนบอร์ดของโน้ตบุ๊กโดยตรงเลย ดังนั้น ใครซื้ออะไรมาก็จะได้แบบนั้นไปจนกว่าจะเปลี่ยนเครื่องใหม่เลย จริงๆ ก็มีวิธีใหม่ๆ เข้ามาเหมือนกัน แต่ว่าต้องมีความรู้เอาเรื่องเลยถึงจะทำเองได้ เช่น วิธี DIY ViDock ที่ทำให้เราสามารถเอาการ์ดจอของเครื่องตั้งโต๊ะตัวใหญ่ๆ แรงๆ มาต่อเข้ากับโน้ตบุ๊กผ่าน mini-PCIe หรือ ExpressCard Adapter แต่ตอนนี้เอาง่ายๆ ว่า มันไม่มีทางอัพเกรดกราฟิกการ์ดให้กับเครื่องบ้านๆ ที่เราใช้กันหรอก


แยกชิ้นส่วนเครื่องกัน
เพื่อจะเริ่มต้นการอัพเกรดด้วยตัวเองกัน เราจะแสดงวิธีการเปิดเครื่องที่เปิด “ยากๆ” ให้ดูกันก่อน HP ProBook 4270s ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและย่อม การอัพเกรดทั้งหมดสามารถทำได้ทันทีที่ซื้อ หรือจะให้แผนกไอทีที่บริษัททำให้เลยก็ได้ ถ้าซื้ออะไหล่ไปให้ สำหรับพวกพนักงานนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อยู่แล้วเพราะบริษัทจะเป็นผู้จัดการให้ แต่าหรับคนที่ซื้อมาใช้เอง คุณจะต้องรื้อเครื่องออกเกือบหมดเพื่อจะเปิดช่องเข้าไปเปลี่ยนอุปกรณ์ด้านใน ได้ ProBook 4270s ไม่ใช่แค่เครื่องเดียวที่ต้องทำแบบนี้ ยังมีอีกหลายๆ เครื่องที่ต้องทำเหมือนกัน โดยเฉพาะพวกเครื่องตั้งโต๊ะเก่าๆ
001 ProBook 4720s
เมื่อเราพลิกด้านล่างขึ้นมาเราจะเห็นว่าไม่มีแผ่นฝาให้ไขน็อตออกเพื่อ เปลี่ยนของด้านในง่ายๆ เลย ดังนั้น เราต้องเริ่มด้วยการถอดแบตเตอร์รี่ออก แล้วจะเห็นว่ามีน็อตซ่อนอยู่ 3 ตัว ให้จัดการถอดออกซะ จากนั้นก็ให้ไขอีก 2 ตัวที่ฝาหลังออกด้วย หลังจากไขที่ออกแล้วแผ่นที่อยู่ด้านบนสุดจะค่อยๆ หลุดออกมาก่อน จากนั้นให้ไขน็อตที่ยึดคีย์บอร์ดไว้ หลังจากถอดออกมาได้ เราจะสามารถเข้าไปเปลี่ยนพวกแรม ฮาร์ดดิสก์ Wireless Adapter และ CPU ที่ซ่อนอยู่ใต้แผ่นด้านล่างด้วยด้วย
ถ้าดูจากรูปภาพ การเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ไปเป็นอะไรที่ใหม่กว่าอย่างเช่น SSD เราต้องถอดน็อตออกมาเพียบ ทั้งฝาด้านบน ตัวคีย์บอร์ด และฝา Touchpad หลังจากที่รื้อและนับจำนวนน็อตให้ครบแล้ว เราก็เอาฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนได้เลย
002 Lenovo ThinkPad Edge 13
เครื่องถัดไปที่เราจะรื้อคือ Lenovo ThinkPad Edge 13 จากด้านล่างจะเห็นแผ่นฝาใหญ่ๆ หนึ่งแผ่นหลังจากที่เปิดออกเราจะเห็นอุปกรณ์ทั้งหลายเรียงตัวพร้อมให้เรา รื้อ แค่ถอดน็อตออก 5 ตัวเท่านั้น เราก็สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ได้แล้ว เช่น แรม ฮาร์ดดิสก์และ Wireless Adapter ที่ยึดเข้าด้วยกัน ถ้าอยากจะเปลี่ยนอะไรสักอย่างก็แค่ถอดน็อตที่ยึดอีกตัวเอาไว้ ซึ่งหาเจอได้ในทุกเครื่อง
003 Dell Inspiron 11z
004 Dell Inspiron 11z
ต่อกันด้วย Dell Inspiron 11z ถ้าดูจากด้านนอกมันอาจจะดูเหมือนเครื่องที่ต้องรื้อกันเละเทะ แต่นี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องที่ซ่อนรูปมากๆ เพราเครื่องไม่มีฝาเปิดด้านหลัง แต่ตัวคีย์บอร์ดต่างหากที่เป็นฝาเปิด ให้ถอดน็อตด้านล่างทั้ง 3 ตัวออก จากนั้นให้ค่อยๆ ยกจะขอบบน คุณจะเห็นว่ามีสายแพรอันใหญ่ๆ ต่อไว้อยู่ ถ้าหากระวังดีๆ คุณก็ไม่จำเป็นต้องถอดสายแพรออก เพื่อจะเปลี่ยนแรม ฮาร์ดดิสก์ Wireless Adapter สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างเวลาเปลี่ยนแรมในโน๊ตบุคคือ จำนวนช่องที่สามารถใส่ได้ที่ตัวเครื่อง ถ้าอยากจะเพิ่มจาก 2 GB เป็น 4 GB อาจจะต้องซื้อแถวละ 2 GB มาเพิ่ม หรืออาจจะต้องซื้อแบบแถวละ 4 GB มาเลย
005 Dell Latitude D630
006 Dell Latitude D630
ถัดมาอีกเครื่อง Dell Latitude D630 โน้ตบุ๊กสำหรับธุรกิจเครื่องเก่า แต่ว่ามีวิธีการอัพเกรดที่ไม่เหมือนใคร ฮาร์ดดิสก์สามารถเปลี่ยนได้จากการถอดฝาหลัง ถอดน็อต 1 ตัวแล้วก็ดึงฝาออก ส่วนแรมมีอยู่ 1 ช่องที่สามารถเปลี่ยนได้เหมือนกัน แต่พวก Wireless และแรมอีกช่องต้องถอดคีย์บอร์ดออกไปเลยถึงจะเปลี่ยนได้
ขั้นแรกให้ค่อยๆ ยกแผ่นคีย์บอร์ดขึ้นเล็กน้อยจากนั้น งัดออกอีกเล็กน้อยด้วยไขควงแบนๆ ให้ทำจากทางด้านขวาก่อน และค่อยทำที่ด้านหลังและข้างหน้าเพื่อจะให้มันหลุดออกจากพลาสติก หลังจากถอดออกมาได้จะเห็นว่ามีน็อตอยู่อีก 3 ตัว ให้ไขออกและค่อยๆ เลื่อนตัวคีย์บอร์ดมาด้านหนัา จะมีสายแพรเชื่อมเอาไว้อีกที แต่ไม่ต้องเอาออกก็ได้
ถัดจากพวกเครื่องธุรกิจก็เป็นเครื่องของคนที่ชอบเล่นหรือใช้งานทั่วไป ซึ่งบางเครื่องก็สามารถอัพเกรดกันได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นพวกแรม หรือฮาร์ดดิสก์ บางเครื่องก็อาจจะให้เปลี่ยน CPU หรือการ์ดจอด้วยซ้ำ ลองดู Toshiba Qosmio X505 มีช่องให้เปลี่ยนทั้งฮาร์ดดิสก์คู่ด้านในและแรม ใช้เวลาแค่นิดเดียวในการเปลี่ยนอุปกรณ์ แล้วเอาเวลาไปจัดการพวกโปรแกรมในเครื่องดีกว่า
007 Toshiba Qosmio X505
เครื่องเล่นเกมอย่างของ Clevo ออกแบบตัวเครื่องให้ปรับเปลี่ยนได้ง่ายๆ ทั้ง CPU และ GPU สำหรับคนที่มีประสบการณ์แล้วนี้ก็เป็นเครื่องที่ง่ายมากๆ ถ้าดูจากรูปของ AVADirect Clevo W860CU จะเห็นว่าแค่เปิดฝาหลังออกมา จะเปลี่ยน CPU GPU อยากใส่ฮาร์ดดิสก์ใหม่ อยากเปลี่ยน Wireless หรืออยากจะติด Bluetooth เพิ่มก็ได้
008 AVADirect Clevo W860CU
จะเปลี่ยนระบบปฏิบัติการหรือว่าอยากสลับฮาร์ดดิสก์ ต้องจัดการเปลี่ยนถ่ายซอฟแวร์
การอัพเกรดเครื่องแบบง่ายๆ เช่น ใส่แรมเพิ่มเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่มีปัญหาอะไร ใส่เสร็จก็เปิดเครื่องเล่นเกมต่อได้เลย แต่ถ้าอยากจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ อาจจะต้องลงระบบใหม่ด้วยหรือจะใช้โปรแกรสำรองข้อมูลมาอย่าง Acronis True Image มาทำอิมเมทข้อมูลจากเครื่องเก่าไปหาเครื่องใหม่ SSD บางตัวก็ให้โปรแกรมแบบนี้มาให้ด้วย โดยอาจจะพวกราคาเครื่องเพิ่มเข้าไปนิดหน่อย
สรุป
การอัพเกรดเครื่องไม่ใช่เรื่องยากมากมาย แม้แต่เครื่องที่ยากๆ ก็ทำได้เพียงแต่เสียเวลาและต้องการความรอบคอบมากขึ้น มีไขควงสักอันสองอันก็ทำได้หมด การทำทุกอย่างด้วยตัวเองจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้ เพราะพวกร้านต่างๆ มักจะคิดค่าจ่ายเพิ่มอีกจากตัวอุปกรณ์ ถ้ามีปัญหาจริงๆ อินเตอร์เน็ตก็เป็นที่จะเอาไว้ค้นหาความรู้ได้หรือความส่วนเหลือได้ คิดอะไรไม่ออกลองโพสถามไว้ที่เว็บบอร์ดเราก็ได้ครับ http://www.notebookspec.com/board/

บทความอื่นๆ>>> http://www.notebookspec.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น